Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 46203 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการมักเกิดในผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคนในผู้ชายอาจมีพบบ้าง ตำแหน่งที่เกิดจะอยู่บริเวณใบหน้า แก้ม อาจมีสีจางๆจนถึงสีเข้ม หรือหากเป้นมากจะเป็นปื้นๆ ขนาดใหญ่เล็กไม่แน่นอน รูปร่างของฝ้าอาจมีรูปร่างแตกต่างกันได้ แต่สังเกตขอบของฝ้ากับผิวหนังบริเวณนั้นจะตัดกันชัดเจน ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน วิเคราะห์ว่าฝ้าเกิดจากระบบต่อมไร้ท่อแปรปรวน โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ วัยทอง หรือจากการทานยาคุมกำเนิด หรือ ตากแดดจัดๆเป็นเวลานานบ่อยๆ และอาจเป็นผลจากโรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคตับ วัณโรค เนื้องอก
ทั้งนี้ ฝ้า มีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่น ภาวะเครียด เหนื่อยเกินไป ใช้พลังงานมาก พักผ่อนไม่พอ สีฝ้าจะเข้มขึ้นและแผ่ขยายออก ต่อเมื่อสุขภาพฟื้นฟู ฝ้าจะค่อยๆจางลงไปหรือหายไปเองได้
สาเหตุและกลไกการเกิดฝ้าในแนวความคิดแบบแพทย์แผนจีน
1. อารมณ์ไม่ปกติ จากอารมณ์ทั้ง 7 จากชี่ติดขัดนานวันทำให้เกิดเลือดคั่ง หากการคั่งเกิดที่บริเวณใบหน้าจะเกิดเป็นฝ้าขึ้น
2. เหน็ดเหนื่อยเกินไจนส่งผลต่อม้าม เมื่อม้ามอ่อนแอนอกจากน้ำจะขึ้นสู่ข้างบนแล้ว เลือดลมยังไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงใบหน้าจึงเกิดเป็นฝ้า
3. จิงในไตเกิดสภาพเสียหาย มักเป็นผลจากทำงานเหนื่อยเกินไป เกิดไฟเผาผลาญอิน (Yin) ในไต หรือจากการมีเพศสัมพันธ์มากเกินไปจนมีผลต่อจิงในไต ล้วนมีผลทำให้น้ำควบคุมไฟไม่พอ เกิดความร้อนพร่องขึ้นสู่เบื้องบน ไฟจะทำให้เหิกความแห้ง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า
การเปี้ยนเจิ้ง (วินิจฉัย) และการรักษา
1. การใช้ยารักษาระบบภายใน
1.1 กลุ่มตับติดขัด
โดยจะเกิดในสตรีที่มีประวัติมีบุตรยาก หรือ ประจำเดือนไม่ปกติ ในผู้ชายมักมีประวัติป่วยจากโรคตับ ขนาดของฝ้าไม่แน่นอนและขอบจะชัดเจนมีรูปร่างเหมือนแผนที่หรือเป็นรูปผีเสื้อ อารมณ์หงุดหงิดจะยิ่งเป็นมากขึ้น อาการอื่นๆ เช่น คัดหน้าอก โกรธง่าย ปากขม เบื่ออาหาร ก่อนประจำเดือนมาสีของฝ้าจะเข้มขึ้น ลิ้งมีฝ้าขาวบางๆเคลือบ
หลักการรักษา : ปรับการกระจายชี่ของตับ เพิ่มการไหลเวียน สลายการคั่ง
1.2 กลุ่มม้ามชื้น
ฝ้าดูเป็นแผ่นปื้นใหญ่ อาจลามไปถึงหน้าผาก ปีกจมูก รอบปาก หากเกิดอาการร้อนชื้นใบหน้าจะค่อนข้างมันเหมือนหน้าไม่สะอาดตลอดเวลา รู้สึกเหมือนมีคราบหนาจับอยู่ หากค่อนไปทางชี่พร่องจะมีอาการอิดโรย ไม่มีแรง มีอาการตกขาวมากหรือเป็นสีเหลือง ท้องอืด เบื่ออาหาร รูปร่างบวมท้วม ลิ้นสีซีด
หลักการรักษา : เสริมม้าม บำรุงชี่ ระบายชื้นขจัดฝ้า
1.3 กลุ่มไตพร่อง
สีของฝ้าจะเข้มจนดำ สีหน้าดูหมองคล้ำ ผิวแห้ง รูปร่างผอม เมื่อยเอว เมื่อยเข่า ฝันมาก วิงเวียน ลิ้นแดง
หลักการรักษา : เสริมอิน ลดไฟ ช่วยให้เลือดเย็น สลายการคั่ง
หากอยู่ในกลุ่มไตหยางพร่อง จะขี้หนาว เท้าเย็น กลางคืนปัสสาวะบ่อย ในผู้ชายอสุจิเคลื่อน ในสตรีจะมีบุตรยาก การรักษาจะบำรุงไตให้หยางอุ่น สลายการคั่งและขจัดฝ้า
2. การรักษาภายนอก
2.1 ยาทาสูตรเฉพาะของคลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน โดยแพทย์จีนเฉพาะทางด้านผิวหนังและความงาม
2.2 ฝังเข็ม
2.3 การทำทรีทเม้นท์ การอบไอน้ำ การนวดหน้า พอกหน้า การกดจุดบนใบหน้า
3. การดูแลรักษาใบหน้า ลดการเกิดฝ้า
3.1 หลีกเลี่ยงแดดจัด โดยเฉพาะแดดในฤดูร้อน ใช้หมวก ร่ม และทายากันแดดคุณภาพดีที่เหมาะสมกับสภาพผิว
3.2 ดำเนินชีวิตอยู่ในหลักการธรรมชาติ ตื่น นอน ตามเวลานาฬิกาชีวิต รักษาอารมณ์ให้คงที่
3.3 ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ ไม่ทานรสเผ็ด รสจัด
3.3 ไม่ควรใช้ครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของสเตรียรอยด์
3.3 การรักษาฝ้าไม่มีทางลัด ต้องใช้เวลาและความอดทน
แผนกผิวหนัง
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567