รู้หรือไม่ การนวดทุยหนามีประโยชน์อย่างไร

Last updated: 23 ม.ค. 2568  |  69 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้หรือไม่ การนวดทุยหนามีประโยชน์อย่างไร


หัตถการการนวดทุยหนา หรือท่านวดทุยหนา มีท่านวดทุยหนาพื้นฐานประกอบไปด้วย 24 ท่า ซึ่งแต่ละท่าจะมีความจำเพาะต่อการนวดตามตำแหน่งบนร่างกายและความเหมาะสมของอวัยวะนั้น เช่น ขั้นตอนในการนวดทุยหนารักษาโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อจะเริ่มจากการใช้หัตถการที่มีน้ำหนักเบาเพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อและเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อก่อนที่จะรับหัตถการที่มีน้ำหนักที่มากขึ้นในขั้นตอนต่อไปเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ เช่น ท่ากลิ้ง ท่านวดคลึง ท่าสั่น 

การนวดทุยหนาระงับอาการปวดจะใช้หัตถการที่มีน้ำหนักที่มากขึ้น ในการคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตัวเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด ระงับอาการปวด หลังจากที่ผ่านการคลายกล้ามเนื้อและระงับอาการปวดจนกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ท่ากด ท่าดีด ท่าจิก ท่าหยิบ ท่าบิด ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเคลื่อนไหวข้อต่อเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่าง ๆ และปรับโครงสร้างให้เข้าที่ เช่น ท่าหมุน ท่าเขย่า และขั้นตอนสุดท้ายคือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากการรักษาจะใช้หัตถการที่ผ่อนคลาย เช่น ท่านวดคลึง ท่าทุบ ท่าตี ด้วยน้ำหนักที่เบาเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายหลังจากการนวดทุยหนา ถือเป็นการสิ้นสุดขั้นตอนการนวดทุยหนา 

สรรพคุณของการนวดทุยหนา เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด ทะลวงเส้นลมปราณ เส้นลมปราณเป็นระบบที่เชื่อมโยงทั่วทั้งร่างกายทั้งอวัยวะภายในไปจนถึงผิวภายนอก เป็นทางเดินของชี่และเลือด หน้าที่ของเส้นลมปราณคือ ไหลเวียนชี่และเลือด บำรุงพลังอินหยาง หล่อเลี้ยงเส้นเอ็นและกระดูก ทำให้การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เมื่อชี่และเลือดทำงานไม่สัมพันธ์กันปัจจัยก่อโรคภายนอกเข้าจู่โจมร่างกายทำให้เส้นลมปราณอุดกั้นไหลเวียนติดขัดเมื่อการไหลเวียนติดขัดจึงก่อให้เกิดอาการปวด หัตถการการนวดทุยหนามีการกระตุ้นจุดฝังเข็มและเส้นลมปราณต่าง ๆ ทำให้สามารถทะลวงเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือดให้ทำงานสัมพันธ์กัน ขจัดความเย็นระงับอาการปวด บำรุงและจัดเส้นเอ็นให้เข้าที่ หล่อลื่นข้อต่อ ความสมดุลของพลังอินและหยางมีส่วนสำคัญที่ทำให้เส้นเอ็นและกระดูกแข็งแรง ข้อต่อเคลื่อนไหวสะดวก

เอกสารอ้างอิง

ธีรา อารีย์, ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และระวีวรรณ มงพงษ์, ผลฉับพลันของการนวดทุยหนาที่ใช้ระยะเวลา ต่างกันต่ออาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อจากกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมในพนักงานสำนักงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์การกัฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2567) 


-------------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนอาวุโส ธีรา อารีย์ ธนวัฒนกุล (หมอจีน หลิน ซี หยวน)
林茜媛 中医师
TCM. Dr. Teera Aree Thanawattanakul (Lin Xi Yuan)
หัวหน้าแผนกกระดูกและทุยหนา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้