สมุนไพรต้านหวัด รับหน้าหนาว

Last updated: 22 พ.ย. 2567  |  106 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สมุนไพรต้านหวัด รับหน้าหนาว

ช่วงนี้ที่อาการเริ่มหนาวคนป่วยเเพิ่มขึ้น รวมทั้งไข้หวัดระบาด ทั้งในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ จำเป็นต้องดูและตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น การดูแลสุขภาพตัวเองเรียนรู้จักการใช้สมุนไพร ง่าย ๆ ก่อน ระหว่าง และหลังเป็นไข้หวัดสามารถช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง ป้องกัน รักษา และพื้นฟูได้

ก่อนเป็นหวัด ควรบำรุงปอด

โดยทั่วไปคนจีนมักให้ดื่มน้ำขิงร้อน ๆ วันละ 1 - 2 แก้ว และทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วยการใส่เสื้อผ้ามิดชิดที่ขาและเท้าโดยเฉพาะที่ศีรษะ ถ้าหากศีรษะเย็นหรือขนหัวลุกบ่อย ๆ ส่วนใหญ่มักพบก่อนเป็นเริ่มไข้หวัด

แพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า การเป็นไข้หวัดที่เกิดจากลมเย็นกระทบเข้าร่างกายทางรูขุมขน ทางจมูกและปาก หากร่างกายอบอุ่น ลมเย็นจะเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น ถ้าหากรู้สึกว่าจะเป็นหวัดที่เกิดจากการกระทบลมเย็น ต้มขิงแก่หรือขิงหั่นฝอยต้มกับน้ำตาลทรายแดง สามารถช่วยไล่หวัดได้

ระหว่างเป็นไข้หวัด ปฏิบัติตัวยังไง

ในขณะที่ร่างกายของเราอ่อนแอลง ลมก่อโรคจากภายนอกมากระทบร่างกาย ส่งผลให้เกิดไข้หวัด แพทย์แผนจีนแยกไข้หวัดอย่างง่าย ๆ คือไข้หวัดเย็น และไข้หวัดร้อน

ถ้าคุณเป็นไข้หวัดเย็นมักพบอาการน้ำมูกใสไหลมาก ไม่ค่อยมีไข้ อาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวเป็นหลัก ในการแพทย์ตะวันตกคือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส

ควรกินอาหารที่มีรสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนเพื่อไล่ลมเย็น เช่น ต้นหอม กระเทียม  ขิงสด โดยเป็นประเภทยำ ลาบ และน้ำตก (รสไม่จัดเกินไป) ที่มีเครื่องต้นหอมและกระเทียมสดเยอะ ๆ จะดี 

ถ้าหากคุณเป็นไข้หวัดร้อน มักอาการไข้เป็นหลัก เจ็บคอ เสียงแหบ น้ำมูกข้นเหลือง ในการแพทย์ตะวันตกคือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และเมืองไทยอากาศร้อน คนไทยชอบกินของเผ็ดของทอด ก็จะมีปัญหาเรื่องไขหวัดร้อนง่าย ควรกินอาหารที่มีสรรพคุณเย็นและกลิ่นฉุนเพื่อไล่ลมร้อน เช่น สะระแหน่ หรือใบมินต์  ดอกเก๊กฮวย ใบหม่อน หากเป็นสมุนไพรแบบเม็ดสามารถกินฟ้าทลายโจรของไทยเรา เพราะเป็นยาเย็นที่รักษาไข้หวัดร้อนได้ดี แต่ห้ามกินมากเกินไปเพราะมีฤทธิ์เย็นจัดส่งผลให้กระเพาะอาหารเย็นได้ และจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องระบบย่อย

หลังเป็นไข้หวัด ต้องบำรุงไหม

หลังเป็นไม่ตัวร้อนแล้ว แต่หลายคนมีอาการเหนื่อยง่าย และหลายคนพบอาการไอช่วงระหว่างและหลังเป็นไข้หวัดด้วย แพทย์แผนจีนแบ่งอาการมี2แบบ ไอแบบมีเสมหะและไอแห้งแบบไม่มีเสมหะอาหารที่ช่วยละลายเสมหะ เช่น น้ำมะนาว ผิวเปลือกส้มแห้ง หลังจากที่เสมหะน้อยลงจนเหลือแต่อาการไอแห้ง ๆ จึงค่อยกินสมุนไพรหรืออาหารช่วยลดอาการไอ เช่น สาลี่ ชวนป๋วย เป็นต้น

แต่ถ้าจะให้ช่วยกำจัดอาการไอและเสมหะแบบทันที ต้องใช้ยาสมุนไพรจีน ได้แก่ สูตรลดเสมหะและสูตรหยุดไอ เช่น 茯苓ฝูหลิง 白术ไป๋จู๋ 陈皮เปลือกส้ม เป็นต้น

ไอแห้ง ๆ ไม่ค่อยมีเสมหะ หรือถ้ามีเสมหะก็น้อยมาก และมักจะไม่ไอตลอดเวลา แต่ไอเป็นช่วง ๆ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้น เช่น สัมผัสกับลมเย็น ฝุ่นละออง

เมื่อไอมาก ๆ คนไข้จะเหนื่อย บางคนอาจต้องตื่นมาไอก็มีซึ่งรบกวนการนอนหลับ ทำให้รู้สึกเพลียระหว่างวัน สร้างความรำคาญ  อาจจะกิน百合ไป่เหอ 甘草ชะเอมเทศ  อย่างไรก็ตาม  ควรให้คุณหมอแผนจีนตรวจและจ่ายยาเพื่อความปลอดภัยที่สุด เพราะบางครั้งไม่รู้ว่ามีปัญหาระบบภายใน

เนื่องด้วยช่วงนี้อากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวเดี๋ยวฝนตก ควรทำร่างกายให้อบอุ่นและหมั่นดื่มน้ำขิง ป้องกันหวัดเย็น หรือ ดื่มเก๊กฮวยเพื่อป้องกันไข้หวัดร้อนไว้เลย ดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารักษา เพราะร่างกายจะขาดสมดุลได้

 ------------------------

บทความโดย

ดร.พจ.อาวุโส เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล (หมอจีน ชิว ลี่ ฟู่)
丘立富 中医师
TCM. Dr. Yaowakiat  Yaowapankul (Qiu Li Fu)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้