ออฟฟิศซินโดรม อาการเป็นยังไง
1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก มีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
2. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึน งง หูอื้อ ตาพร่า
3. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป
แพทย์แผนจีนมองยังไงศาสตร์การแพทย์แผนจีนมองว่าอาการปวดเกิดได้จาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ การไหลเวียนที่ติดขัดทำให้ปวด (不通则痛ปู้ทงเจ๋อท่ง) ซึ่งอาจพบได้จากกลุ่มอาการชี่และเลือดติดขัด กลุ่มอาการจากปัจจัยลมเย็นและความชื้น ทำให้เส้นลมปราณไหลเวียนติดขัด และการหล่อเลี้ยงไม่พอทำให้ปวด (不容则通ปู้หรงเจ๋อท่ง) ซึ่งอาจพบได้จากกลุ่มอาการชี่และเลือดไม่เพียงพอ สารจินเย่ขาดพร่อง กลุ่มอาการพร่องของอวัยวะต่างๆ หรือการทำงานไม่สมดุล ทำให้ไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงได้เพียงพอจึงทำให้ปวดวิธีการรักษาทางแพทย์แผนจีนการรักษาออฟฟิศซินโดรมจากมุมมองแพทย์แผนจีนมีหลายวิธีที่เน้นการปรับสมดุลชี่ในร่างกายและการส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด1. การฝังเข็ม (Acupuncture) : แพทย์จีนจะเลือกจุดฝังเข็มตามสภาวะของร่างกายและเลือกตำแหน่งเส้นลมปราณที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บปวดหรืออาการไม่สบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของชี่และเลือดภายในร่างกาย และปรับสมดุลการไหลเวียนของชี่ บรรเทาอาการปวดและอาการไม่สบายต่างๆ
2. การนวดทุยหนา (Tui Na) : แพทย์จีนจะใช้การนวดแบบจีน เป็นการนวดรักษา ที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง และกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด
3. การใช้สมุนไพรจีน : แพทย์จีนจะใช้สมุนไพรจีนที่มีคุณสมบัติในการลดอาการปวด กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด และปรับสมดุลอวัยวะภายใน
4. การหย่างเซิง : การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เช่น ปรับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น